วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสวรรค์ ตำบลโคกกลาง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
เยี่ยมด่านชุมชน 
                                                                     28 ธันวาคม 2562-1 มกราคม 2563






ในวันที่ 28 ธันวาคม 2562-1 มกราคม 2563 เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสวรรค์ ตำบลโคกกลาง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานีร่วมกับ อสม.ออกเยี่ยมด่านชุมชน ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่อยู่เวรด่านชุมชน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 7  วันอันตราย ทั้ง 12 หมู่บ้านเหตุการณ์ปกติ

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การป้องกันไข้เลือดออก

ช่วงนี้เป็่นฤดูฝนเป็นช่วงเวลาที่ยุุงขยายพันธ์ดังนั้นเราจึงต้องมีการควบคุมยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคแอดมินจึงขอแนะนำความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

ลักษณะโรค
โรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 30 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 100 ประเทศที่โรคนี้กลายเป็นโรคประจำถิ่น และโรคนี้ยังคุกคามต่อสุขภาพของประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 40 (2,500 ล้านคน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งเป็น single - strand RNA จัดอยู่ใน genus Flavivirus และ family Flaviviridae มี 4 serotypes คือ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4 ทั้ง 4 serotypes มี antigen ร่วมบางชนิด จึงทำให้มี cross reaction และ cross protection ได้ในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสเดงกีชนิดหนึ่งจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีชนิดนั้นตลอดไป (long lasting homotypic immunity) และจะมีภูมิคุ้มกัน cross protection ต่อชนิดอื่น (heterotypic immunity) ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 6-12 เดือน ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีไวรัสเดงกีชุกชุมอาจมีการติดเชื้อ 3 หรือ 4 ครั้งได้
วิธีการติดต่อ
โรคไข้เลือดออกเดงกีติดต่อกันได้โดยมียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นแมลงนำโรคที่สำคัญ และในชนบทบางพื้นที่ จะมียุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นแมลงนำโรคร่วมกับยุงลายบ้าน เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย พร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดต่อไป เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นป่วยได้
ระยะฟักตัว
ระยะเพิ่มจำนวนของไวรัสเดงกี ในยุง ประมาณ 8-10 วัน
ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสเดงกี ในคน ประมาณ 3-14 วัน โดยทั่วไปประมาณ 5-8 วัน
ระยะติดต่อ
โรคไข้เลือดออกเดงกีไม่ติดต่อจากคนสู่คน ติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นแมลงนำโรค การติดต่อจึงต้องใช้เวลาในผู้ป่วยและในยุง ระยะที่ผู้ป่วยมีไข้สูงประมาณวันที่ 2-4 จะมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก ระยะนี้จะเป็นระยะติดต่อจากคนสู่ยุง และระยะเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในยุงจนมากพออีกประมาณ 8-10 วัน จึงจะเป็นระยะติดต่อจากยุงสู่คน
อาการและอาการแสดง
หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันได้ ตั้งแต่มีอาการคล้ายไข้เดงกี (dengue fever: DF) ไปจนถึงมีอาการรุนแรง (dengue hemorrhagic fever: DHF) และรุนแรงมาก จนถึงช็อกและเสียชีวิต (dengue shock syndrome: DSS)
ผู้ป่วยมีอาการได้ 3 แบบ คือ
  1. Undifferentiated fever (UF) หรือกลุ่มอาการไวรัส
  2. ไข้เดงกี (Dengue fever - DF)
  3. ไข้เลือดออกเดงกี (Dengue hemorrhagic fever - DHF)
โรคไข้เลือดออกเดงกี มีอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ เรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ดังนี้
  1. ไข้สูงลอย 2-7 วัน
  2. มีอาการเลือดออก ส่วนใหญ่จะพบที่ผิวหนัง
  3. มีตับโต กดเจ็บ
  4. มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว/ภาวะช็อก
การดำเนินโรคของโรคไข้เลือดออกเดงกี แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข้ ระยะวิกฤต/ช็อก และระยะฟื้นตัว
  1. ระยะไข้
    ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส บางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้นโดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชักมาก่อน ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง (flushed face) ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรืออาการไอ เบื่ออาหาร อาเจียน และไข้จะสูงลอยอยู่ 2-7 วัน อาจพบมีผื่นแบบ erythema หรือ maculopapular ซึ่งมีลักษณะคล้ายผื่น rubella ได้ อาการเลือดออกที่พบบ่อยคือ ที่ผิวหนัง การทำ tourniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) ส่วนใหญ่จะคลำตับ โต ได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย ในระยะที่ยังมีไข้อยู่ ตับจะนุ่มและกดเจ็บ
  2. ระยะวิกฤติ/ช็อก
    ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี จะมีอาการรุนแรง มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค (ถ้ามีไข้ 2 วัน) หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค (ถ้ามีไข้ 7 วัน) ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง และจะเสียชีวิตภายใน 12-24 ชั่วโมง หลังเริ่มมีภาวะช็อก
  3. ระยะฟื้นตัว
    ระยะฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยช็อกถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ระยะฟื้นตัวมีช่วงเวลาประมาณ 2-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
ระบาดวิทยาของโรค
มีรายงานการระบาดของไข้เดงกี (DF) ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2322-2323 ในเอเชีย อาฟริกา และอเมริกาเหนือ ต่อมาการระบาดของไข้เลือดออก (DHF) ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มมีรายงานการเกิดโรคจากภูมิภาคแปซิฟิก อเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การระบาดใหญ่เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี พ.ศ. 2497 ปัจจุบันพบไข้เลือดออกทั้งในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น (subtropical) ในทวีปอาฟริกา ทวีปอเมริกา ประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก
ประเทศไทยเริ่มพบโรคไข้เลือดออกประปราย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2492 และการระบาดใหญ่ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในเขตกรุงเทพ-ธนบุรี สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501-2545 มีแนวโน้มที่สูงขึ้น และมีการระบาดหลายลักษณะ เช่น ระบาดปีเว้นปี ปีเว้น 2 ปี หรือระบาดติดต่อกัน 2 ปี แล้วเว้น 1 ปี แต่ในระยะ 15 ปีย้อนหลัง ลักษณะการระบาดมีแนวโน้มระบาด 2 ปี เว้น 2 ปี ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะอยู่ในกลุ่มอายุ 0-14 ปี อัตราป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ 5-9 ปี อัตราส่วนผู้ป่วยเพศหญิงต่อเพศชายใกล้เคียงกัน พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี จึงให้การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ แพทย์ผู้รักษาจะต้องเข้าใจธรรมชาติของโรค และให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด จะต้องมีการดูแลรักษาพยาบาลที่ดีตลอดระยะวิกฤต คือ ช่วง 24-48 ชั่วโมง ที่มีการรั่วของพลาสมา หลักในการรักษามีดังนี้
  1. ในระยะไข้สูง บางรายอาจมีอาการชักได้ถ้าไข้สูงมาก ให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาพวกแอสไพริน, ibrupophen, steroid เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน จะระคายกระเพาะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น
  2. ให้ผู้ป่วยได้สารน้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำและเกลือโซเดียม ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่
  3. ติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา
  4. ดูการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและ hematocrit เป็นระยะๆ เพราะถ้าปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มลดลง และ hematocrit เริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าน้ำเหลืองรั่วออกจากเส้นเลือดและอาจจะช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกหรือเลือดออก แพทย์จะต้องให้การรักษาเพื่อแก้ไขสภาวะดังกล่าว ด้วย สารน้ำ พลาสมา หรือสาร colloid อย่างระมัดระวัง เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยและป้องกันโรคแทรกซ้อน

บทความ โดยhttp://www.boe.moph.go.th/fact/Dengue_Haemorrhagic_Fever.htm

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ซุปผัก สุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพ


ขึ้นชื่อว่า “ผัก” เป็นที่รู้จักกันรู้แล้วนะคะว่าอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์แก่ร่างกายมากมายจึงขอนำเสนอ เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ “ซุปผัก” ที่ช่วยพื้นระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอย่างมหัศจรรย์ โดยรวบรวมผักหลายชนิด
ส่วนประกอบ1. ตำลึง 1 ส่วน   2. ผักกาดขาวหรือผักกวางตุ้ง 1 ส่วน   3. หอมใหญ่ 1 ส่วน   4. มะเขือเทศ 1 ส่วน
วิธีปรุง
ต้มน้ำให้เดือด นำมะเขือเทศและหอมหัวใหญ่ต้มพอสุก จึงใส่ผักลงไปแล้วปิดฝาพอผักสุกยกลงวางไว้
ปรุงรสด้วยพริกไทยได้เล็กน้อยนำไปปั่น รับประทานตอนเช้าก่อนอาหารอื่นทั้งหมดเพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานหนักจนเกินไปจึงควรรับประทานพวกแป้งคือนมธัญพืชตามหลัง

สรรพคุณ
ตำลึง : ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก และฟัน
ผักกาดขาว : ช่วยระบบย่อยกระตุ้นการบีบตัวของกระเพราะ และลำไส้ ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ
ผักกวางตุ้ง : ช่วยบำรุงสายตา และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้แก่ร่างกายได้ดี
หอมใหญ่ : ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดระดับไขมัน และคอเรสเตอรอลในเส้นเลือด
มะเขือเทศ : ช่วยลดการแข็งตัวของผนังหลอกเลือด รักษาโรคลักปิดลักเปิด ช่วยบรรเทาอาการป่วยของผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคตับอักเสบ


                    ที่มา : http://variety.teenee.com



วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

สับปะรดลดหวัด เพื่อสุขภาพ


สับปะรด เป็นผลไม้อมหวานอมเปรี้ยว ที่สามารถนำไปทำอาหารทั้งคาว และหวานได้อร่อยหลายชนิด และให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ร่างกายมากมายโดยที่คุณอาจไม่รู้
หากเรากินสับปะรด หลังอาหาร เราจะรู้สึกเบาสบายท้องและไม่อึดอัด เพราะสับปะรดมีความสามารถในการช่วยย่อย โดยเฉพาะในสารอาหารโปรตีน เราจึงเห็นคนส่วนใหญ่ใช้สับปะรดในการหมักเนื้อสัตว์ต่างๆ ให้นุ่มขึ้น รวมถึง
สับปะรดอุดมไปด้วยวิตามินซีสูงจึงช่วยเสริมสุขภาพ และภูมิต้านทานโรคได้ดีขึ้น กินสับปะรดบ่อยๆ ทำให้สุขภาพดี ไม่ค่อยเป็นหวัด และในสับปะรดยังมีโพแทสเซียมสูงที่ช่วยป้องกันการเป็นตะคริวและลดความดันได้
นอกจากนี้สับปะรดยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้เป็นอย่างดี ส่วนปริมาณที่เหมาะสมของสับปะรด ในการบริโภคก็คือ 100 กรัมต่อวัน และควรกินสับปะรดสดๆ โดยไม่ผ่านการประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนเพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามินต่างๆ ไป เพื่อสุขภาพ ที่ดีของคุณ

ที่มา...หนังสือสารอาหารดีดี อยู่ 120 ปีไม่มีโรค